หน้า 1 จากทั้งหมด 4

ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. 31 ก.ค. 2014 12:14 pm
โดย แม่น้องกาย
เป็นแม่ของเด็กชาย pdd อายุเกือบ 8 ขวบ ซึ่งหมอวินิจฉัยเป็นสมาธิสั้น (อาการหลัก) pdd หมอไม่บอกตรงๆ ใช้คำว่าพัฒนาการช้า จนแม่มาได้อ่านหนังสือ ฟลอไทม์ ถึงทราบว่า ลูกเป็น pdd และใช้ฟลอไทม์กับลูกมาจากการอ่านหนังสือ (ช่วงแรกดูดีวีดีไม่รู้เรื่องค่ะ เลยคิดว่าไปอบรมไม่รู้เรื่องแน่ๆ จะเข้าอบรมในวันที่ 6 กย.นี้ค่ะ)
--ฝึกพูด ที่ รพ.นครธน
--ฟลอร์ไทม์ ใช้คุณครูฝ้าย (รามา) เป็นผู้ดูแล นัดเจอะทุก 2-3 เดือน (และครูฝ้ายแนะนำแม่ให้เข้าอบรมได้แล้วค่ะ)

ช่วงนี้ฝนตก ทำให้แม่ปล่อยไม่ปล่อยให้ลูก+เพื่อน ออกไปเล่นข้างนอก (เล่นข้างนอกก็จะเป็นเป่าลูกโป่ง ไล่จับ) แม่เลยชวนมาเล่นหุ่นยนต์ ปรากฏว่า แรกๆ ลูกตกลง
ชวนเพื่อนเขาอายุต่ำกว่า 1 ปี มาเล่นสมมติ (ปกติเล่นกับแม่พอได้ และบทพูดยังไม่ยาวค่ะ แม่ตันจริงๆค่ะ)

ลูกเล่นผิดบท ...เป็นหุ่นยนต์ว่า ผมชื่อ ดช...เรียน...ฯลฯ
เพื่อน งง และเล่น หุ่นยนต์บินไปมา
ปรากฏว่า ลูกชาย หนี (เข้าใจว่าถดถอยไปอยู่ระดับ 2 ) หนีไปเล่นคนเดียวกับหุ่นยนต์คนเดียวไม่ยอมหันมา

แม่ต้องคุมสถานการณ์ไม่ให้ผิดปกติโดยอธิบายเพื่อนว่า น้องไม่รู้จักหุ่นยนต์ (เพื่อนทำหน้าเหวอมากๆๆๆๆๆ พร้อมกับเรียกลูกชายมาเล่นกันใหม่ ) ลูกชายไม่สนใจแม้กระทั่งแม่ (พ่อเขาดุลูกค่ะ ว่าทำไมมาทำแบบนี้)
แล้วลูกชายก็มาแอบมองค่ะ จนได้เวลา 2 ทุ่ม จึงอ้างกับเพื่อนว่า น้องต้องไปอาบน้ำแล้วนะ
อยู๋ในห้องนอน ลูกชวนเล่นสมสติค่ะ เป็นเพื่อนๆในห้องเขา –เข้าแถว-ทำการบ้าน

ถ้ามีเพื่อนชวนเล่น หากลูกถดถอยจนเพื่อนงง (เพื่อนไม่ทราบว่า เป็น pdd ค่ะ) แม่บอกเพื่อนว่า ลูกเล่นไม่เป็นไม่เคยดูหุ่นยนต์
ไม่ได้กลัวว่า เพื่อนจะรังเกียจแต่แม่ต้องคงความสัมพันธ์ไว้ (เด็กคนนี้แม่เลือกไว้ว่า มาเล่นกับลูกได้ค่ะ )

-แม่ควรคุมสถานการณ์ให้เด็กปกติ ไม่รู้สึกถึงความ”ผิดปกติ” อย่างไรดีค่ะ เด็กเริ่ม งง เป็นไก่ตาแตกแล้ว ทำไมเล่นไม่ได้ หนีทำไม เล่นแรงเกินไปบ้าง
-แม่ควรนำลูกไปประเมินกับ อ.กิ่งแก้วหรือเปล่าคะ ที่ไหนคะ
-การเล่นสมมติกับแม่ ปัญหาที่พบ

@@@1. แม่แกล้งเจ็บ (จากฟันดาบ) ลูกมาจุ๊บที่แผลค่ะ บอกแม่อย่าเป็นไรนะ
@@@2. ถดถอยแยกตัว (มุดเข้าผ้าห่ม) ถ้าเจอะปัญหาใหม่ แม่ต้องมุดเข้าผ้าห่มเขา เพื่อเปลี่ยนเป็นกิจกรรม 2 คน (รวมถึง ทุบหน้าแม่ก็ต้องร่วมเข้าใจแกล้งทุบด้วย)
@@@3. ลูกบ่น “อย่าตะโกนสิ” แม่เล่นอินเกินค่ะ ลูกไม่ยอมตะโกนบ้างค่ะ น้ำเสียง+ท่าทางไม่ค่อยแอ็คชั่น
@@@4. และไม่ทราบว่า ต้องรายงานอาการที่หายไปจากการใช้ฟลอร์ไทม์ด้วยหรือเปล่าคะ
@@@5. อยากเล่นแต่เพื่อนคุยกัน (ซ้ำบทบาทเดิม) แม่ก็ตันบทค่ะ ไป รร.-ชื่ออะไร-เคารพธงขาติ-ห้ามลอกการบ้าน ฯลฯ สถานการณ์ที่เขาคุ้นทุกวันค่ะ แม่ก็พยายามฉีกบทเท่าที่นึกออกแล้ว แต่ลูกก็ตอบได้ค่ะ เลยไม่รู้จะฉีกไปที่ไหนแล้ว (เลยอยากให้เขาเปลี่ยนการเล่นบ้าง)
@@@6. แม่ควรเอาหนังหุ่นยนต์มาเปิดเพื่อกระตุ้นเขาหรือเปล่า (แม่เล่นไม่สนุกค่ะเพราะไม่เคยเล่นหุ่นยนต์) เลยคิดว่า เพื่อนผู้ชายน่าจะเล่นเป็นตัวอย่างให้เขาได้ (กลับตาละปัด ลูกถดถอย)
@@@7. อาการถดถอยที่เกิดขึ้น แสดงว่า ฐาน 1-2 ยังไม่แน่นจริงใช่หรือเปล่าคะ
@@@8. การพูดทีเยอะโต้ตอบได้ คำตอบเป็นเหตุผลของเด็กๆ ไม่ได้หมายความว่าเขา พร้อมที่จะเล่นสมมติหรือเปล่า (แล้วทำอย่างไรคะ)
@@@9. แม่ไม่เห็นเขาโกรธเอาเป็นเอาตาย ออกแค่นิดหน่อย (ถ้าโกรธ ความสามารถการสื่อสารจะลดลงเสียงเบาลงจนกลาย กลายเป็นพฤติกรรม ตี เขวี้ยง) มีแต่ร้องไห้ไม่อยากไป รร.





เท่าที่แม่ประเมินเอง เขายังอยู่ระดับ 3 ไม่เต็มค่ะ อารมณ์ละเอียดอ่อนยังไม่ได้หมด และประดักประเดิด เวลาเล่นกับเพื่อนกลุ่มใหญ่มากๆ เป็น 10 คน หลายอายุ ตั้งแต่ อนุบาลยันประถมปลาย เขาเข้าไปเนียนๆไม่ได้ แต่เล่นรวมได้ แม่ต้องคุมอีกทีค่ะ เช่น เข้าไปแย่งบอลเลยสิ/ วิ่งสิ/ แย่งเอาคืนมา/อย่ายอม

/// การสื่อสารเพื่อแก้ปัญหา ยังไม่ได้ครบทุกปัญหา (บางปัญหาแค่ทำหน้าเบ้ นึก”ประโยค”ไม่หมด ใช้คำได้สั้นๆ ไม่ชอบ/ไม่เอา /ส่ายหน้า ) นอกจากปัญหาเคยใช้ประโยคเดิม
แต่ก็สามารถแตะไปถึงระดับ 6ได้บ้างถึงเหตุผล การพูดค่อนข้างใช้ได้ (ถ้าพูดกับเด็กเล็กกว่าจะไม่ทราบค่ะว่า มีปัญหา เพราะใช้ประโยคสั้น)

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. 31 ก.ค. 2014 12:17 pm
โดย แม่น้องกาย
ตัวอย่างที่เล่นที่สระน้ำนะค่ะ

เพื่อนรุ่นใหญ่ ป.4-ป.5
ดช. ค่อนข้างเฮี้ยว ลูกสามารถเล่นแย่งบอลกันได้ (การสื่อสารไม่ลดลง) มีทั้ง เบะปาก /แอบแลบลิ้น/”เอาคืนมาๆๆๆๆๆ” เวลาไม่พอใจ จนถึงพูดว่า “อ้ายเด็กบ้า” (ต่อว่ารุ่นพี่) ที่ไม่ยอมคืนลูกบอล รุ่นพี่มีทั้งแหย่ทั้งให้คืน ความสัมพันธ์มีตลอดไม่แยกตัว มีการพูด ทั้งกับแม่ เพื่อนดช. เพื่อน ดญ.
แต่ไม่มีการทำร้ายถึงตัวกัน เพราะแม่คุมไว้ ห้ามตีพี่ ให้ตีน้ำ หรือ กวักน้ำใส่เท่านั้น
เมื่อแย่งบอลได้ เขาเอาบอลมาหาแม่ “แม่จ๋า หนูไม่เล่นแล้วนะ “ แล้วเอาไปซ่อน (ซ่อนครั้งแรกไม่มิด แม่แอบไปเอามาอีก //ซ่อนครั้งที่ 2 เขาพูดให้คนอื่น “เปิดถุงด้วยครับ ปิดถุงด้วยครับ ไม่ให้ใครเล่นแล้ว” (และซ่อนลึกกว่าเดิม)

สุดท้ายก็เลิกรากันได้ แบบไม่โกรธเคืองกัน แล้วลูกชายก็ไปเล่นกับ ดญ ด้วยความอ่อนโยนกว่า พูดน้ำเสียงเบากว่า ได้รวมยาว เกือบ 3 ชม.ที่เล่นที่สระ


จากการเล่นดังกล่าว + เขาพอเล่นสมมติได้กับแม่ แม่จึงตัดสินใจชวนเพื่อนลูกเล่นสมมติกัน
@@@1. เร็วเกินไปหรือเปล่าคะ หรือเขายังไม่พร้อม ฐานยังไม่แน่นจริง

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. 31 ก.ค. 2014 4:58 pm
โดย กิ่งแก้ว
เท่าที่เล่ามาเด็กพร้อมจะเล่นสมมุติแล้ว

แต่ไม่พร้อมจะเล่นในเรื่องราวที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความก้าวร้าว หรือการบาดเจ็บ

การเล่นบทบาทสมมุติก็มีลำดับขั้น

ดิฉันเพิ่งจัดการอบรมเฉพาะเรื่องนี้ไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา และจะวนมาจัดอีกรอบในปีหน้า

เรื่องราวพวกนี้บางส่วนอยู่ตอนท้ายของ dvd พัฒนาการด้านอารมณ์

ซึ่งคุณแม่บอกว่าดูแล้วไม่เข้าใจ อาจจะลองอ่านในคู่มือ ก็ได้ค่ะ

ค่อย ๆ หาทางเล่นไปก็แล้วกันค่ะ

เล่นสมมติกับผู้ใหญ่ได้แล้ว ค่อยไปทดลองเล่นกับเพื่อนค่ะ

ในทุกการเล่นค่ะ

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: ศุกร์ 01 ส.ค. 2014 3:30 pm
โดย แม่น้องกาย
ดีวีดี แม่ยังดูไม่ถึงแผ่น 3 ไม่เข้าใจ ทำให้ดูไม่จบ
อ่าน หนังสือเล่มสีเหลือง (คู่มือการพัฒนาเด็กออทิสติกแบบองค์รวม)
อ่าน บทความ เล่ม 1 (จบแล้ว)
บทความเล่ม 2 อ่านไม่จบค่ะ (มีต่อสู้กันด้วย)
ช่วยให้ลูกอยุ๋ได้และอยู่ดี (ยังอ่านไม่จบค่ะ แม่เอาเวลามาทวนเล่มเหลืองมากกว่าค่ะ)

ไม่ทราบว่า คุณหมอพอจะแนะให้อ่านเล่มไหนคะ
พอแนะนำหนังสือเล่มอื่นคะ แม่จะลองดูดีวีดีอีกครั้งค่ะ (หรือ Dvd รายการที่ 5 การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และความรู้สึก แม่จะได้สั่งซื้อค่ะ)
กิ่งแก้ว เขียน:
เรื่องราวพวกนี้บางส่วนอยู่ตอนท้ายของ dvd พัฒนาการด้านอารมณ์

ซึ่งคุณแม่บอกว่าดูแล้วไม่เข้าใจ อาจจะลองอ่านในคู่มือ ก็ได้ค่ะ




เมื่อวานลูกก็หนีอีกแล้วค่ะ (ไม่ได้ตั้งใจจะเล่มสมมติ เล่นเป่าฟอง แต่เพื่อนทำท่าแอ๊กชั่น แปลงร่าง) เขาหนีไปบนหลังรถกะบะ แล้วก็ย้อนมาลองเตะ(ยกขา) อยากยกขาเตะเหมือนเพื่อนบ้าง แต่ท่าเขาประดักประเดิด ขาพันกันค่ะ เขาเลยเลิก

แต่เขาบอกว่า เล่นไม่เป็น แม่เลยบอกว่า "แม่สอนให้เอาเปล่า" เขาพยักหน้าค่ะ

1. แม่เคยพาเขาไปห้อง เทควันโด้ ปรากฏว่า เขาวุ่นวายมากค่ะ ควรพาไปดูหรือเปล่าคะ (ค่อยๆพาไปให้คุ้นสถานะการณ์ )
2. การที่เขาแปลงร่างแบบค่อยๆ ช้า ๆ ไม่ได้ เป็นปัญหาเรื่อง si หรือเปล่าคะ (ปัจจุบันการเคลื่อนไหวไม่กระตุกแล้วค่ะ ถ้าถามจากความเห็นครูฝ้าย คือดูปกติค่ะ)

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: ศุกร์ 01 ส.ค. 2014 4:36 pm
โดย กิ่งแก้ว
http://www.floortimethailand.com/images ... enplay.pdf

การเล่นสมมุติไม่ใช่หัดทำท่า แต่เป็นการจำลองความรู้สึกและจำลองสถานการณ์

ก่อนจะถึงชีวิตจริง

เมื่อกังวล เมื่อยังผ่านอารมณ์นี้ไปไม่ได้แม้ในการเล่นสมมุติ

แน่นอนเขาย่อมถดถอยวุ่นวายที่เทกวนโด

เล่นเรื่องราวธรรมดาให้คล่องก่อนเถอะ

ดิฉันรู้สึกเหมือนกำลังจะมีการติวให้เล่นสมมุติเลยค่ะ

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: ศุกร์ 01 ส.ค. 2014 7:51 pm
โดย แม่น้องกาย
จากตัวอย่างนะค่ะ บนพื้นฐานความเป็นจริง
เคยเล่นกันแล้ว พอลูกตอบไม่ได้ เขาใช้วิธีเสกค่ะ แม่ยังไม่แน่ใจว่า ตรงนี้ผิดหลักการคุณหมอหรือเปล่า (เขาเสกค่ะ แม่ไม่ได้เริ่มก่อน) แม่เลยต้องบอกเขาว่า เสกไม่ได้ เขาไม่ได้มีมนต์วิเศษนะ เรากำลังเล่น ผู้ร้าย ตำรวจ ฯลฯ

หรือ พริกไทยหัวเราะ อันนี้มุขบ่อยของเขาค่ะ เขาจำมาจากโดเรมอนอีกที (แม่จำได้ว่าตอนเด็ก แม่นึกอะไรไม่ออก ก็จะนึกถึงของวิเศษโดเรมอนค่ะ)

แม่แกล้งร้องไห้ (ถ้าเป็นสถานการณ์จริง แม่ร้องไห้จริง เศร้าจริง เขาไม่ใช่พริกไทยหัวเราะค่ะ จะปลอบกอดแทน)

มาเหยาะจนกว่าแม่จะแกล้งเลิกร้องไห้ อันนี้ถือว่าอยู่บนพื้นฐานความจริงหรือเปล่าคะ

ส่วนเข้าห้องเทควันโด้ แม่ไม่ได้ไปติวท่าให้เขาค่ะ แต่เพิ่งทราบแน่ใจจริงๆว่า เขากลัวความรุนแรง จากการพาไปห้องนี้ค่ะ (ไปเพราะช่วงปิดเทอมที่ศุนย์เยาวชน หลังจากว่ายน้ำเสร็จค่ะ) จากที่เขามาจุ๊บแผลแม่ และไม่ยอมเล่นต่อ หนีมุดผ้าห่มบ้าง เปลี่ยนเรื่องไปสมมติเป็นเพื่อน รร.แทน
คือ หุ่นยนต์เขาจะเล่นได้กับแม่ บินไปบินมา แต่พอสู้กันเท่านั้น จะหยุดเลย

(ต้องรอจัดปีหน้าถึงจะทราบขั้นตอนใช่หรือเปล่าคะ หรืออ่าน/ดูจากตรงไหนได้ก่อนค่ะ)

การที่ลูกมาแอบดูบ้าง ลองเตะขาบ้าง (แต่ประดักประเดิด )แม่รู้สึกว่า เขาพยายาม แต่เข้าไม่ถึงนะค่ะ (อาจจะติดที่ท่าหรือเปล่า หรือรู้สึกอายในที่สาธารณะ)เพราะแม่เองรู้สึกอายค่ะ ที่จะเล่นเตะขา แปลงร่าง (ในที่สาธารณะ)
เขาเล่น กลิ้งล้ม(เวลายิง) ร้องโอ้ย แต่เราเล่นกันในห้องนอนค่ะ (แอบตอดนิดตอดหน่อยอย่างที่คุณหมอแนะค่ะ)

หรือแม้แต่การเล่นตีฟองสบู่แตก ท่าทางเขาก็จะไม่สนุกเสียงดังถ้าอยู่ในที่สาธารณะค่ะ แต่ถ้าเป่าอยู่กะครูฝ้าย แล้วตีฟองแตก (ในห้อง) เขาจะขำมากๆ

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: ศุกร์ 01 ส.ค. 2014 10:56 pm
โดย กิ่งแก้ว
ดิฉันว่าให้ครูเล่นนำทางเป็นตัวอย่าง แล้วคุณแม่นำไปต่อยอดเถอะค่ะ

ขั้นตอนมีในคู่มือค่ะ

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 02 ส.ค. 2014 8:17 am
โดย แม่น้องกาย
ลักษณะนี้ เรียกถดถอยหรือเปล่าคะ (แม่ไม่แน่ใจค่ะ)

เมื่อวานลูกชวนเพื่อนเต้น กำนันสไตล์ เพื่อนเขาอีก 2 คน เต้นกันสนุก (พ่อเปิดเพลงจากคอม) เขาแยกตัวมาดูคอมเพื่อเต้นไปด้วย ทิ้งเพื่อนให้เต้นกันเอง 2 คน เขาเต้นหน้าคอมบอกว่า "จะดูท่า" เพื่อนเรียกเท่าไหร่ก็ไม่มาหาเพื่อน จนเพื่อนแทบจะกลับบ้าน
แม่เลยตัดสินใจ ล่อใจเขาด้วยขนม ให้มาเต้นในกลุ่มเพื่อน แล้วเต้นเสร็จถึงได้ขนมพร้อมกัน

ถ้าถดถอย แม่จะได้สังเกตได้ว่าเขากลัวอะไร (ปกติเขาเต้นกับกลุ่มเพื่อนที่ รร.ได้ค่ะ)

หมายเหตุ เพื่อนลูกจะมาตามให้เล่นกันทุกวันค่ะ (แม้ลูกจะทำการบ้านเพื่อนก็รอได้) แม่ไม่ได้บังคับเขาออกไปเล่นค่ะ

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 02 ส.ค. 2014 5:24 pm
โดย กิ่งแก้ว
หากมีคนมาบ้าน แล้วถึงเวลาถ่ายทอดมฟุตบอลโลก เจ้าของบ้านเดินเข้าไปดูบอล แล้วไม่ยอมออกมาคุยกับแขก บอกว่าจะดูบอลโลก

เรียกว่าถดถอยหรือเปล่า

ไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจกับทุกเรื่องก็ได้ค่ะ

ดูภาพรวมเอาไว้ ถ้าดีขึ้น ก็แปลว่าดีขึ้นค่ะ

Re: ลูกชายไม่ยอมเล่นสมมติกับเพื่อน ควรคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

โพสต์เมื่อ: เสาร์ 02 ส.ค. 2014 9:07 pm
โดย แม่น้องกาย
แม่เข้าใจฟลอร์ไทม์จากภาษาเปรียบเปรยของคุณหมอเนี่ยละค่ะ (เอกลักษณ์เฉพาะตัวจริงเสียงจริง) ไม่ว่าจะ จาก dvd หรือ หนังสือ

แทบทุกตัวหนังสือมีความหมายจริงๆ ค่ะ


กิ่งแก้ว เขียน:ไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจกับทุกเรื่องก็ได้ค่ะ



แม่คงเป็นประเภทที่ว่า เต้นจบแล้ว กลับบ้านแล้ว นอนไปตื่นนึงแล้ว ยังคงเก็บมาคิดต่อ เหมือน อ.กิ่งแก้วเขียนว่า ตอบกระทู้จบไปแล้ว ยังคิดมากกว่าตอนตอบเสียอีก :D



วันนี้แม่เข้าใจคำตอบคุณหมอมากขึ้น
กิ่งแก้ว เขียน:การเล่นสมมุติไม่ใช่หัดทำท่า แต่เป็นการจำลองความรู้สึกและจำลองสถานการณ์



จากที่สระน้ำ โฟมเป็นสปาเก็ตตี้บ้าง เป็นจานบ้าง แป้งทอดบ้าง ผัดซีอิ้ว ฯลฯ
น้ำในสระเป็นน้ำล้างจาน (แม่มองอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยุ่งค่ะ) ทั้งกิน ทั้งช่วยกันล้างจาน

เด็กดูเป็นธรรมชาติกว่าที่เล่นกันแม่มากๆค่ะ (เพื่อนรุ่นประถมต้น/ประถมปลาย เนื่องจาก สระน้ำกำหนดเพื่อนทดลองไม่ได้ค่ะ)

แม่คิดว่า การเล่นสมมติของแม่ต้องปรับปรุงแล้วค่ะ

พอดีเรื่องเล่มสมมติครูฝ้ายไม่ได้สอนนะค่ะ แม่อ่านจากหนังสือเองค่ะ และแนะนำว่าควรเข้าอบรมเพื่อดูตัวอย่าง

:) :) คำถาม ...แม่รู้สึกว่า ลูกแม่เสียงดัง เล่นเวอร์กว่าเด็กคนอื่นค่ะ