โดย กิ่งแก้ว » จันทร์ 10 ต.ค. 2011 8:14 am
ลูกมีปัญหา แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์พูดจาแปลก ๆ เสมอ ๆ เช่น อยู่ดี ๆ ก็พูดขึ้นมาว่า ไม่อยากมีญาติ อยากมีเพื่อนอย่างเดียว เพื่อนช่วยเหลือ ไม่รักพี่เ๊ดือน(ชื่อพี่เลี้ยง) คุณแม่สังเกตุว่าจะมีพฤติกรรม หรือคำพูดแบบนี้ขึ้น ใน 2 สถานการณ์ คือ ตอนที่รู้สึกหงุดหงิด
สับสน เรียกร้องความสนใจ ถูกบังคับ หรือโมโห แต่บ่อยครั้งก็ไม่มีเหตุกาณ์อะไรเลย ตื่นนอนขึ้นมาก็พูด ลืมบอกไปว่าเวลาพูดจะมีอารมณ์และน้ำเสียงที่โกรธ เป็นเหมือนกับคำสบถของเขา เป็นการระบายออกมาเวลาที่เขาโกรธ เขาจะพูดคำพูดนี้ตลอด แม่ก็จะถามว่า ลูกเป็นอะไร เขาตอบว่า ข้าวปั้นโกรธ โกรธมาก ๆ เลยน่ะ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับคำพูดที่ว่า ไม่รักพี่เดือน ไม่อยากมีญาติ ทำไมต้องรักกันด้วย แม่จะถามเขาย้อนกลับไป ทุกครั้งที่ลูกแสดงอารมณ์ออกมา แม่จะปรี๊ดมาก คือมีความรู้สึกว่า เรื่องที่ลูกโมโห หรือถูกขัดใจ เพราะถูกบังบังคับให้อยู่ในกรอบที่มันถูกต้องเป็นสิ่งที่คนปกติ ต้องรู้จักบังคับตนเอง ซึ่งลูกก็รู้ถึงเหตุและผล (พัฒนาการขั้นที่ 6) แต่ทำไมลูกทำไม่ได้ แถมก็พูดจาออกมาไม่เหมาะสม คือตัวเองโกรธโมโหไม่อยากอ่านหนังสือ ไม่อยากตอบคำถามแม่บ้าง (คือเอาแต่ใจตนเอง) แล้วมันเกี่ยวอะไรกับคำพูดที่พูดออกมาว่า ไม่รักคนนั้นไม่รักคนนี้ ไม่อยากมีญาติ จะไม่ซื้อของมาฝากเค้า พูดไม่ตรงประเด็น พอแม่ย้อนกลับไปพูดกับลูกว่า ข้าวปั้นเป็นอะไร ลูกจะตอบว่า ข้าวปั้นโกรธ โมโหมาก อยากอยู่คนเดียว แม่ไปไกล ๆ เลย อารมณ์เริ่มรุนแรงตามคำพูด เริ่มมีการตีปากตนเองบ้าง กระโดดไปรอบ ๆ ควบคุมตนเองไม่ได้ ถ้าเริ่มมาก ๆ ขึ้น ก็จะร้องไห้ หลุดไปอยู่ในพัฒนาการขั้นที่ต่ำลง พูดไม่รู้เรื่อง แม่จะถามลูกด้วยอารมณ์ที่โมโห น้ำเสียงท่าทางที่โกรธมากด้วย แม่ก็ปรี๊ดมากเช่นกัน ว่าข้าวปั้นเป็นอะไร ทำอย่างนี้ได้ไหม มันดีมั๊ย เป็นคำพูดที่ต่อว่า ไม่ใช่เข้าใจคือ แม่โมโหลูกจริง ๆ คือไม่เข้าใจว่าลูกจะทำพฤติกรรมอย่างนี้ทำไม ทั้ง ๆ ที่ลูกก็รู้ดีว่า การทำแบบนี้มันไม่ดี ไม่ควรทำ เพราะอะไร (คือแม่จะถามทุกครั้งว่าทำอย่างนี้ดีมั๊ย และไม่ควรทำเพราะอะไร เขาก็ตอบถึงเหตุถึงผลได้ ก็เลยโมโหลุกว่า ลูกก็รู้แล้วลูกทำทำไม ยิ่งโดยเฉพาะเวลาที่ไม่มีเหตุการณ์อะไรเลย เหมือนคิดอะไรอยู่ในใจก็ไม่รู้ อยู่ดี ๆ ก็พูดคำเหล่านี้ออกมา พูดแบบโมโหด้วย เออ! แม่ก็งง อะไรกันนักกันหนา อยู่ดี ๆ ก็พูดจาทำท่าทาง เพี้ยน ๆ พอเค้ารู้ว่าแม่โกรธเพราะเขาอ่านภาษกายออก ก็จะเข้ามาพูดว่า พูดไม่ได้ใช่มั๊ยแม่ มันไม่ดี เดี๊ยวเค้าเสียใจ แล้วเดี๊ยวก็กลับมายั่วต่อว่า อยากให้เค้าเสียใจ ไม่รักเค้าแล้ว แม่ก็จะยิ่งปรามเค้า รุนแรงกันมากขึ้น บางทีก็จบกันไปแบบค้างคาในใจ หมือนกันต้องยอมให้จบ เพราะเธอเป็นแม่ของฉัน แต่มันแรุ่นอยู่ข้างใน เหมือนถูกกดเอาไว
นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วันละหลาย ๆ ครั้ง เ้พราะเวลาที่เขาถูกขัดใจ โมโห ไม่้อยากจะทำแต่ต้องทำเพราะแม่บังคับ ดิฉันก็โมโหทุกครั้งที่ลูกมีอาการและพฤติกรรมอย่างนี้ เพราะดิฉันไม่อยากให้มันเกิดขึ้น คือมองว่าลูกก็รู้และเข้าใจดีนี๊หน่า ว่าทำไมลูกต้องอ่านหนังสือ ต้องเขียนหนังสือ ลูกเข้าใจว่ามันเป็นสิ่งที่ควรหรือไม่ควร แล้วทำไมลูกต้องโมโห แล้วก็พูดจาแปลก ๆ ใช้คำพูดไม่เหมาะสม ลูกโรธโมโหไม่อยากเขียนอ่านหนังสือ หรือถูกบังคับให้ตอบคำถาม แล้วมันเกี่ยวอะไรกับคำพูดที่พูดออกมาว่า ไม่อยากมีญาติ ไม่รักพี่เดือน ไม่ซื้อของมาฝากเค้าแล้ว
แม่จะโมโหลูกมาก มีความคิดว่า ทำไมต้องพูดเพ้อเจ้อ มันไม่เกี่ยวกันเลย
บางทีแม่ควบคุมสติตนเองได้ ก็จะถือโอกาสเล่นบทสะท้อนอารมณ์ กอดลูก ปลอบโยนเขา แสดงความเห็นอกเห็นใจเขา บอกว่าแม่รู้น่ะ ว่าลูกเหนื่อยแล้ว ลูกไม่อยากเขียน ลูกโกรธมาก ๆ เลยที่ถูกบังคับ อารมณ์ของเขากลับถูกแสดงออกมาเวอร์หนักกว่าเดิม ร้องไห้ตีอกชกหัวตัวเอง เสียอกเสียใจ พฤติกรรมหลุดลดขั้นไปหนักกว่าเดิมพูดไม่รู้เรื่อง วิ่งพล่านตีไัวตัวเองไปทั่วห้อง พูดซ้ำไปซ้ำมา
ปัญหาที่ดิฉันกลุ้มใจอยู่ขณะนี้ก็คือ ดิฉันต้องการให้เขารู้จักบังคับตนเองให้ได้ รู้้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ (ซึ่งลูกก็เข้าใจแต่ทำไมบังคับตนเองไม่ได้) แล้วทำไมต้องพูดจาแสดงพฤติกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อยากรู้ว่าลูกมีอาการแบบนี้ มีปัญหาแบบนี้ดังที่อธิบายมาแล้ว floortime ทำให้พฤติกรรมเหล่านี้หายได้มั๊ย มันทำงานอย่างไร คือดิฉันหมายความว่า ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การทำ floortime ช่วยให้พฤติกรรมเหล่านี้ หมดไปได้อย่างไร การบอกและสั่งให้ทำไม่ง่ายกว่าหรือ แต่อย่างที่บอก การทำแบบนี้ลูกหยุดได้จริงเพราะกลัวเราโกรธ กลัวเราไม่รัก หรือไม่กล้าขัดใจแม่่ แต่จริง ๆ แล้ว มันครุกรุ่นอยู่ข้างในใจของเขา ดิฉันก็ไม่อยากใช้วิธิกดดันเขาอย่างนี้ แต่การที่เข้าอกเข้าใจ เห็นอกเห็นใจเขานั้น มันไม่เป็นการตามใจเขาหรือ มันเหมือนกับว่าวิธีการแบบเดิมคือบังคับกดดันให้เค้าหยุด แต่อีกวิธีก็เป็นการตามใจเขา ไม่ขัดใจเขา เขาก็จะได้หยุด และที่สำคัญเลยคือว่าคุณมีอารมณ์โกรธโมโหได้ แต่อยากให้เขาพูดตรงเรื่อง ตรงประเด็น floortime ช่วยให้ลูกพูดได้ตรงเรื่องตรงประเด็นได้อย่างไร
2. อยากให้ลูกเล่นเป็น รู้จักเล่าเรื่อง ต้องทำอย่างไร
ความสามารถของลูก ณ.ปัจจุบันคือ สามารถตอบคำถามได้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เพราะอะไร แต่เราต้องเป็นฝ่ายตั้งคำถามแล้วให้เขาตอบ ลูกยังไม่รู้จักเล่าเรื่องเอง แต่จะชอบพูดเรื่องหัวข้อหรือสิ่งเดิม ๆ หรือถามคำถามในสิ่งที่ตนรู้คำตอบอยู่แล้ว เช่น
ลูก - แม่ วันนี้ใครจะมาบ้านเรา (รู้ว่าวันนี้พี่พรจะมาบ้าน)
แม่ - ข้าวปั้น ก็รู้แล้วนิ ว่าใครจะมาบ้านเรา
ลูก - พี่พร จะมาบ้านเรา
แม่ - ก็รู้อยู่แล้วนิ ข้าวปั้นชอบถามในสิ่งที่ข้างปั้นรู้อยู่แล้ว ลองถามอะไรใหม่ ๆ พูดอะไรใหม่ ๆ บ้างซิ
ลูก - พี่พรบอกว่าไงหล่ะ
แม่ - บอกอะไร เรื่องอะไรหล่ะ ข้าวปั้นต้องพูดให้รู้เรื่องซิว่า พี่พรจะบอกอะไร พูดเรื่องอะไร เช่น วันนี้ข้าวปั้นจะไปว่ายน้ำ พี่พรจะไปด้วยมั๊ย
ไม่ีใช่อยู่ดี ๆ ก็มาถามแม่ว่า พี่พรว่าอย่างไรหละ
ลูก - ถ้าข้าวปั้นบอกว่า ข้าวปั้นไม่รักเค้า เค้าจะทำยังไงหล่ะ
แม่ - ไม่ทำอย่างไร ก็เฉย ๆ หรือ แม่ก็จะตอบว่า พี่เดือนก็จะพูดว่า แต่พี่เดือนรักข้าวปั้นน่่ะ
แต่คำตอบที่แม่แกล้งทำงงไม่เข้าใจ มันไม่โอนใจเขา เขาต้องการได้ยินว่า พี่เดือนก็จะไปฟ้องน้า น้าก็มาจัดการข้าวปั้น
ถ้าเราเฉไฉ ตอบไม่โดนใจ ตอบเป็นเรื่องเดิมว่าพี่เดือนจะไปฟ้องน้าให้มาจัดการข้าวปั้น เขาก็จะบอกเองว่า พี่เดือนจะพูดแบบนี้ แล้วก็จะจบหัวเราะชอบใจ คือลูกชอบพูดคุยในสิ่งที่ลูกรู้อยู่แล้ว และก็อยากให้คำตอบเป็นแบบเดิม พอเราฉีกแนวเปลี่ยนแปลงคำตอบก็จะไม่เล่นด้วย ไม่คุยด้วย หรือไม่ก็บอกเลยว่า ไม่ใช่ พี่เดือนจะพูดแบบนี้ ฉะนั้น การสื่อสารมันก็เลยไม่พัฒนา เพราะเขาอยากพูดแต่เรื่อง เดิม ๆ ที่เขารู้อยู่แล้ว ซึ่งมีอยู่ไม่กี่หัวข้อ แถมยังมี pattern ว่าแต่ละคนจะต้องพูดอย่างไร พอเราพูดอะไรแบบใหม่ก็ไม่โดนใจ ถ้าพูดพักคอเขาว่าเขาต้องการให้เราพูดว่าคนนั้นคนนี้จะพูดอย่างนี้ตามแบบเดิม ๆ ที่เขาต้องการ ก็มีความสุข happy ยิ้มพึงพอใจ ถ้าพูดฉีกแนว ก็มีหงุดหงิดบ้างเล็กน้อย แล้วบอกว่า ต้องพูดแบบนี้
floortime ตอบโจทย์นี้อย่างไรค่ะ