หน้า 1 จากทั้งหมด 6
floor time น้องบ๊อบบี้
เมื่อ:
จันทร์ 30 ม.ค. 2012 3:02 pm
โดย plekku
อยากทราบ
เทคนิคการแก้ si ว่าทำกันอย่าวไร กรณีที่
เฉื่อย หรือ
ไวเช่นเด็ก ไวต่อเสียง/เฉื่อยเอ็นข้อต่อ/เฉื่อยสายตา...............ขอบคุณครับ
Re: การแก้si
เมื่อ:
จันทร์ 30 ม.ค. 2012 4:05 pm
โดย กิ่งแก้ว
คำถามค่อนข้างสั้นนะคะ ไม่แน่ใจว่าเป็นคำถามของผู้ปกครองที่ค้างมาจากวันเสาร์
หรือจากนักศึกษาถามการบ้านไปส่งอาจารย์
ก่อนจะถามเทคนิค ขอให้แน่ใจก่อนนะคะว่าประเมินเป็น คือประเมินได้ว่า เด็กที่อยู่ตรงหน้านั้น เฉื่อย หรือไว กันแน่
การประเมิน SI เด็กนั้น ไม่เหมือนการประเมินเครื่องรถยนต์ แค่เห็น ได้ยินเสียง ก็ระบุได้ ว่าตรงไหนเสีย
แต่ถ้าหากมั่นใจแล้วว่า ไวเกิน หลักการ คือ desensitization คือฝึกให้รับจนชิน จากน้อยไปมาก
แต่ถ้าเฉื่อย หลักการ คือ ฝึกให้ชินกับการกระตุ้นที่ค่อย ๆ ลดลง จากมากไปหาน้อย
เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในโลกใบเดียวกันกับผู้อื่นได้
ส่วนเทคนิควิธี มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ คงต้องอ่านเพิ่มจากบทความที่โพสต์ไว้ให้
หากมีโอกาส ให้นักกิจกรรมบำบัดช่วยประเมินให้ก็ดี
หรือถ้าไม่มีโอกาส ใช้ระบบ check list จากกิจกรรมตัวอย่างท้ายคู่มือ ตั้งแต่จาก ดช เอ ไปเลยค่ะ
Re: การแก้si
เมื่อ:
จันทร์ 30 ม.ค. 2012 4:19 pm
โดย กิ่งแก้ว
Re: การแก้si
เมื่อ:
จันทร์ 30 ม.ค. 2012 9:00 pm
โดย plekku
ขอบพระคุณครับ........ผมเป็นผู้ปกครองครับ ลูกชายวัย 3.6ปี(คำถามของผู้ปกครองที่ค้างมาจากวันเสาร์ )
-มีอาการไวต่อเสียง....เสียงเครื่องปรับอากาศ/เครื่องดูดอากาศในห้องน้ำหรือร้านอาหาร
-ทางสายตาชอบดูลูกหมุนระบายอากาศ/สะบัดมือไปมาไวๆฝ่านหน้า
-ทางปาก ชอบสิ่งของมาแตะที่ปาก บางครั้งเอาของเช็นดินน้ำมันเข้าปาก
-ทางจมูก ชอบดมกาแฟ หรือวัตถุอื่นๆ
-วิ่งหรือปีนป่ายอยู่ตลอดเวลา
เราจะมีวิธีที่จะช่วย เพิ่มในส่วนที่ขาด และลดในส่วนที่เกินได้อย่างไรครับ อยากได้แนวทาง หรือวิธีที่ใกลเคียงในการปรับใช้ครับ และช่วงนี้ลูกพูดคนเดี๋ยวมาขึ้นเรียกก็ไม่สนใจ
..................ขอบพระคุณครับ....................
Re: การแก้si
เมื่อ:
จันทร์ 30 ม.ค. 2012 10:24 pm
โดย plekku
ได้อ่านบทความที่อาจารย์แนบแล้วพอจะได้เป็นแนวทางครับ แต่ยังมีปัญหาเรื่อง การลดภาวะซุกซน อยู่ไม่นิ่ง มันเป็นภาษาอังกฤษที่เข้าใจยาก ขอความกรุณาอาจารย์แนะนำด้วยครับ
Re: การแก้si
เมื่อ:
อังคาร 31 ม.ค. 2012 5:00 am
โดย กิ่งแก้ว
หากเวลาส่วนใหญ่ เด็กยังแสดงพฤติกรรมดังกล่าว บอกให้รู้ว่าเด็กยังสงบตัวเองไม่ได้ หรือสงบตัวเองกับโลกแห่งสิ่งเร้ารอบตัว (ที่ไม่ใช่คน)
ความช่วยเหลือต้องเริ่มด้วยฟลอร์ไทม์ ขั้น 1-2 คือการเล่นให้สนุก เล่นให้เขาติดใจ จากนั้นจึงช่วยให้เขาพัฒนาการสื่อสาร
ดังนนั้น เมื่อเห็นเขากลัว ก็ต้องเข้าปลอบใจ เมื่อเห็นเขากระตุ้นตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ ต้องเข้าไปทำให้มันเป็นการเล่นด้วยกันให้ได้
หากทำไม่เป็น พาไปหานักบำบัดฟลอร์ไทม์ช่วยแสดงให้ดู ก็จะช่วยย่นระยะเวลาได้มากค่ะ
ช่วงนี้ ยังเป็นช่วงแห่งการสร้างความไว้วางใจ และการสื่อสาร ยังไม่ใช่ช่วงที่จะแก้ SI อย่างจริงจัง
เมื่อลูกสนุก และติดใจพ่อแม่แล้ว อาการแสดงดังกล่าวจะหายไปเองเกินครึ่ง
ที่เหลือค่อยแก้ ด้วยการพาลูกค่อย ๆ เผชิญสิ่งที่เขากลัวทีละน้อย ด้วยความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจ อย่างยิ่ง
จากปัญหาที่คุณพ่อเขียนมา ดิฉันรู้สึกว่าคุณพ่อยังไม่ได้ทำส่วนฟลอร์ไทม์ (หรือทำแล้ว แต่ยังทำไม่ได้ดีพอ) ค่ะ
Re: การแก้si
เมื่อ:
อังคาร 31 ม.ค. 2012 6:56 am
โดย plekku
Re: การแก้si
เมื่อ:
อังคาร 31 ม.ค. 2012 7:22 am
โดย กิ่งแก้ว
ช่วงนี้ก็ก้มหน้าก้มตา เล่นสนุกกับลูกให้ได้ก่อนค่ะ
ลองอ่านความเห็นของผู้ปกครองที่เคยผ่านมาแล้วนะคะ
Re: การแก้si
เมื่อ:
อังคาร 31 ม.ค. 2012 7:25 am
โดย กิ่งแก้ว
Re: การแก้si
เมื่อ:
อังคาร 31 ม.ค. 2012 7:27 am
โดย plekku