ขอบคุณค่ะคุณหมอสำหรับคำชี้แนะ
ดิฉันอาจจะไม่ชัดเจนเรื่องการต้้งคำถาม แต่ดิฉันอยากเข้าใจ อยากช่วย อยากให้ลูกสื่อสารบอกความรู้สึกที่อึดอัดคับข้องใจ พูดไม่ออก อธิบายไม่เป็น ถึงสิ่งที่รบกวนหรือทำให้โกธร จนเขารู้สึกไม่เป็นสุข ต้องลงไม้ลงมือ
คำถามข้อแรก ดิฉันดูจาก DVD ครูพบ การดูแลผ่านกระบวนการเล่น แผ่นที่ 1 ซึ่งอธิบายเรื่องกระบวนการคิด เช่น เด็กต้องมีไอเดียของตัวเองในการอ่านสถานการณ์ เมื่อเด็กเอะใจเป็น จะมีความคิด ตั้งคำถามกับตัวเองได้ และเลือกตอบโต้ ทางวาจา หรือทางร่างกาย เช่น คุณแม่คุยกับเพื่อนอยู่ ถ้าน้องสังเกตุและเอะใจเป็น จะมีคำถามกับตัวเองว่า ควรเข้ามาหาหรือรอก่อน ดิฉันคิดว่าในทางเทคนิดการสอนให้เอะใจผ่านการเล่นนั้นน่าจะได้ เช่น
แม่ : เล่นเป็นคนแปลกหน้า และเป็นแม่เด็กที่พักอยู่บ้านนายอำเภอ โดยนายอำเภอเป็นคนทำคลอด
ลูก : เล่นเป็นนายอำเภอ
มีการเล่นมาก่อนหน้านี้
แม่ : (คนแปลกหน้า) ขอเข้าไปในบ้านหน่อย
ลูก : ทำท่าเปิดประตู และบอก เข้ามาได้
แม่ : (แม่เด็ก) เอะ นายอำเภอถ้าให้คนแปลกหน้าเข้ามาจะปลอดภัยหรือเปล่า (ตรงนี้ค่ะที่ดิฉันคิดว่าเป็นการเทคนิคการเอะใจให้เด็กหยุดคิดก่อน)
ลูก : รีบปิดประตู - ไม่ให้เข้า
แม่ : (คนแปลกหน้า) ทำไมเข้าไม่ได้ล่ะ
ลูก : (ไม่ตอบว่าทำไมไม่ให้เข้าแต่ถามกลับ) จะเข้ามาทำไม
แม่ : (คนแปลกหน้า) เข้าไปหาแม่ของเด็ก
ลูก : เค้าไม่อยู่
แม่ : (คนแปลกหน้า) ไม่อยู่เหรองั้นขอเข้าไปรอข้างใน
ลูก : เข้าไม่ได้ รอข้างนอก
แม่ : (คนแปลกหน้า) ขอเข้าแค่ 5 นาทีเอง
ลูก : 5 นาทีก็ไม่ได้
แม่ : (คนแปลกหน้า) งั้นขอเข้าห้องน้ำ
ลูก : ห้องน้ำอยู่ข้างนอก
แม่ : (คนแปลกหน้า) มันล๊อกเข้าไม่ได้
ลูก : เปิดประตู เนี่ยกุญแจ
แม่ : (แม่เด็ก) เอะ ถ้าเปิดประตูอย่างนี้ แล้วคนแปลกหน้าไม่ผลักเข้ามาเหรอ (สอนให้เอะใจ)
ดิฉันเล่นสมมุติประมาณนี้กับลูกค่ะ โดยใช้คำสอนที่ครูพบสอนมาประยุกต์ใช้ แต่ไม่ทราบว่าถูกผิดอย่างไร ชี้แนะด้วยค่ะ
คำถามข้อสอง หลังจากส่งเมล์ถาม ดิฉันก็ได้คำตอบเอง ว่าเทคนิคการยื้อและตื้อตามหลักการ FT นั่นเอง อาจทำให้น้องไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการทันที เพื่อให้น้องมีความสามารถชลอความอยากของตัวเอง และมีความสามารถทนต่อความรู้สึกที่มันเกิดขึ้น และด้วยการสร้างพื้นที่ให้ลูกได้ฝึก น่าจะช่วยให้ลูกมีทักษะในการสื่อสาร บอกความรู้สึก หรือความต้องการแทนที่จะลงมือใดๆ
เข้าใจถูกผิดอย่างไร ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
เอดา